หลักการอ่านค่าระยะทางของกล้อง Total Station

Last updated: 29 ส.ค. 2567  |  155 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักการอ่านค่าระยะทางของกล้อง Total Station

กล้อง Total Station เป็นเครื่องมือสำรวจที่ใช้ในการวัดระยะทาง มุม และพิกัดของจุดต่างๆ บนพื้นผิวโดยหลักการทำงานในการวัดระยะทางนั้นอาศัยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์และทฤษฎีทางเรขาคณิต โดยหลักการการทำงานดังต่อไปนี้

1. การส่งสัญญาณ
• กล้องจะส่งสัญญาณ (โดยทั่วไปเป็นสัญญาณเลเซอร์อินฟราเรด) ไปยังปริซึมที่ตั้งอยู่บนจุดที่ต้องการวัด

2. การสะท้อนกลับ
• จากนั้นสัญญาณจะถูกสะท้อนกลับมายังตัวกล้อง

3. การวัดเวลา
• กล้องจะวัดระยะเวลาที่สัญญาณใช้ในการเดินทางไปและกลับ

4. การคำนวณระยะทาง
• จากตัวกล้องจะคำนวนระยะเวลาที่วัดได้ ออกมาเป็นระยะทางระหว่างกล้องกับปริซึม โดยอาศัยความเร็วของแสงเป็นค่าคงที่ จากนั้นตัวกล้องจะแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผลนั้นเอง

ปัจจัยที่มีผลต่อความแม่นยำในการวัดระยะทาง
1.ชนิดของปริซึม
• ปริซึมที่มีคุณภาพสูงจะทำให้ค่าความแม่นยำที่สูงขึ้น

2. สภาพอากาศ
• อุณหภูมิ ความชื้น และความดันอากาศมีผลต่อการหักเหของแสง ซึ่งส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดระยะได้

3. การปรับตั้งกล้อง
• การปรับตั้งกล้องให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทุกครั้งก่อนการทำการยิงระยะ

4. การเล็งปริซึม
• การเล็งปริซึมให้ตรงกลางเส้นเล็งของกล้องจะสามารถช่วยลดความคลาดเคลื่อนได้

สรุป
การอ่านค่าระยะทางด้วยกล้อง Total Station เป็นกระบวนการที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่หลักการพื้นฐานก็ค่อนข้างเข้าใจง่าย การใช้งานกล้อง Total Station อย่างถูกต้องจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและน่าเชื่อถือมากขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้