Last updated: 18 ธ.ค. 2566 | 1868 จำนวนผู้เข้าชม |
สำหรับการหาค่าระดับความสูงหรือการวัดระยะแนวดิ่งนั้น มีรูปแบบหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการวัดด้วยเทปวัดระยะ การใช้กล้องระดับ การวัดโดยอ้อมด้วยการรังวัดแบบตรีโกณมิติ (trigonometric leveling) หรือการวัดด้วยเครื่องวัดความกดอากาศ (barometric leveling) นั้นเอง โดยวิธีการวัดเหล่านี้จะมีกรรมวิธีและค่าความถูกต้องแตกต่างกัน ดังนี้
1.การวัดด้วยเทป คือการใช้เทปวัดระยะวัดโดยตรง ส่วนใหญ่จะใช้วัดความสูงของวัตถุที่มีความสูงไม่มากนัก และมักจะใช้ในงานการก่อสร้างภายในอาคาร
2.การวัดด้วยกล้องระดับ คือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์กล้องเข้ามาช่วยในการหาค่าความสูง โดยการเล็งกล้องในแนวราบและอ่านค่าความสูงจากไม้ระดับ (staff) ที่มีสเกลแบ่งขีดความยาวหรือความสูง ตั้งอยู่ในจุดที่ต้องการหาค่าระดับความสูง จะนิยมใช้ในงานสำรวจบริเวณพื้นที่ความลาดชันไม่สูงมาก
3.การวัดด้วยเครื่องวัดความกดอากาศ คือ การใช้หลักการความกดอากาศของชั้นบรรยากาศ และความสัมพันธ์ชนิดแปรผกผันของค่าระดับความสูงของชั้นบรรยากาศ
และอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้หมุดระดับ (Bench Mark, BM) วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการติดตั้งระบบน้ำประปา ระบบระบายน้ำ หรืองานก่อสร้างอาคาร โดยหมุดระดับที่ใช้จะเป็นจุดระบุค่าระดับความสูงอย่างชัดเจน มีค่าระดับที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
16 ธ.ค. 2567
15 ม.ค. 2568
23 ธ.ค. 2567
17 ธ.ค. 2567